คุณรู้จักbloggerไดอย่างไร

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กฏหมายอาญา









สารบาญ ภาค1 บทบัญญัติทั่วไป ...ลักษณะ1 บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป ...ลักษณะ2 บทบัญญัติ ที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ ภาค2 ความผิด ...ลักษณะ1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ...ลักษณะ1/1 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ...ลักษณะ2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง ...ลักษณะ3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม ...ลักษณะ4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา ...ลักษณะ5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุข ของประชาชน ...ลักษณะ6 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิด ภยันตรายต่อประชาชน ...ลักษณะ7 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ...ลักษณะ8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า ..ลักษณะ9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ ...ลักษณะ10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ...ลักษณะ11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง ...ลักษณะ12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ภาค3 ลหุโทษ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประมวลกฎหมายอาญา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมาย อาญาเสียใหม่เพราะตั้งแต่ได้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาใน พุทธศักราช 2451 เป็นต้นมา พฤติการณ์ของบ้านเมืองได้ เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมากจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499"มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไปมาตรา 3 ประมวลกฎหมาย อาญาท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็นต้นไปมาตรา 4 เมื่อประมวลกฎหมาย อาญาได้ใช้บังคับแล้วให้ยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 5 เมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ใช้บังคับแล้ว ในกรณีที่กฎหมายใดได้ กำหนดโทษโดยอ้างถึงโทษฐานลหุโทษในกฎหมายลักษณะอาญาไว้ ให้ถือว่ากฎหมายนั้นได้อ้างถึงโทษ ดังต่อไปนี้ถ้าอ้างถึงโทษชั้น 1 หมายความว่า ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทถ้าอ้างถึงโทษชั้น 2 หมายความว่า ปรับไม่เกินห้าร้อยบาทถ้าอ้างถึงโทษชั้น 3 หมายความว่า จำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าอ้างถึงโทษชั้น 4 หมายความว่า จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา 6 เมื่อประมวลกฎหมายได้ใช้บังคับแล้ว ในการจำคุกแทนค่าปรับตามกฎหมายใด ไม่ว่ากฎหมายนั้นจะบัญญัติไว้ประการใด ให้นำประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับแต่สำหรับความผิด ที่ได้กระทำก่อนวันที่ประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับ มิให้กักขังเกินกว่าหนึ่งปี สำหรับโทษปรับกระทงเดียว และสองปีสำหรับโทษปรับหลายกระทงมาตรา 7 ในกรณีวิธีการเพื่อความปลอดภัยตาม มาตรา 46 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับเสมือน เป็นความผิดอาญา แต่ห้ามมิให้คุมขังชั้นสอบสวนเกินกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่ เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ถูกจับมาศาลรวมเข้า ในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วยมาตรา 8 เมื่อประมวลกฎหมาย อาญาได้ใช้บังคับแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงกฎหมายลักษณะอาญา หรืออ้างถึงบทบัญญัติแห่ง กฎหมายลักษณะอาญา ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นอ้างถึงประมวลกฎหมายอาญา หรือบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายอาญาในบทมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน แล้วแต่กรณีผู้รับสนองพระบรมราชโองการจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีหมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ได้ประกาศใช้มานานแล้วและได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอยู่หลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงเป็นการสมควรที่จะได้ชำระสะสาง และนำเข้ารูปเป็นประมวลกฎหมายอาญาเสียในฉบับเดียวกันอนึ่ง ปรากฏว่าหลักการบางอย่างและวิธีการลงโทษบางอย่างควรจะได้ปรับปรุงให้สมกับกาล สมัยและแนวนิยมของ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น